26.12.12

แพทย์ผิวหนังเตือนภัย 'เดอร์มาโรลเลอร์' ทำหน้า 'เสี่ยงเชื้อร้าย'

แพทย์ผิวหนังเตือนภัย 'เดอร์มาโรลเลอร์' ทำหน้า 'เสี่ยงเชื้อร้าย'

นอกจากการฉีดสาร “กลูตาไธโอน” เพื่อหวังจะให้ผิวขาว ซึ่ง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” เคยนำเสนอคำเตือนจากแพทย์ว่าเสี่ยงเกิดอันตราย และนอกจากการฉีดสาร “โบท็อกซ์” เพื่อหวังจะให้ผิวหนัง-ผิวหน้าเต่งตึง ซึ่งล่าสุดมีดาราชายบางรายฉีดแล้วเกิดอาการเปลือกตาตก-ตาปิดจนเป็นข่าวดังแล้ว กับการทำผิว โดยเฉพาะการ “ทำหน้า” ในเมืองไทยยังมีการทำกันอีกหลายแบบ บางวิธีก็กำลังฮิตในหมู่ผู้รักษาแผลเป็นจากสิว...

“เดอร์มาโรลเลอร์ (DermaRoller)” นี่ก็กำลังฮอต แต่แพทย์ผิวหนังก็เตือนว่า “ต้องระวัง” เพราะเสี่ยง ?!?

กับเรื่องนี้ รศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานฝ่ายวิชาการสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ให้ความรู้ความเข้าใจผ่าน “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ว่า... “เดอร์มาโรลเลอร์” ใช้เครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายลูกกลิ้ง และมีเข็มขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.25 มิลลิเมตร เมื่อกลิ้งไปบนผิวหนังก็จะทำให้เกิดรูหรือแผลขนาดเล็กมาก ๆ ซึ่งความลึกของรูหรือแผลจะขึ้นกับขนาดและความยาวของเข็ม การมีแผลลักษณะนี้ก็จะทำให้ผิวหนังต้องเกิดการซ่อมแซมตัวเองโดยสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ คนที่มีแผลเป็นจากสิวหรือมีริ้วรอยตื้น ๆ จึงรู้สึกว่าผิวดีขึ้น

เดอร์มาโรลเลอร์นี้ถือเป็นชื่อทางการค้า ทางการแพทย์เรียกว่าการ ทำ สกิน นีดลิ่ง (Skin Needling) หรือ ไมโคร-นีดลิ่ง (Micro-Needling) ซึ่งพัฒนามาจากวิธีจี้เลเซอร์ซึ่งมีราคาแพงกว่า ลำบากในการดูแลรักษา และเจ็บกว่า จึงทำให้วิธีเดอร์มาโรลเลอร์ได้รับความนิยม โดย วิธีนี้ก็พัฒนาจากการใช้เลเซอร์ซึ่งจะกรอหน้าทั้งหมด ทำให้เกิดแผลสด การรักษาต้องใช้เวลา และอาจมีรอยดำตามมา ต่อมาจึงพัฒนาเป็นการใช้เลเซอร์เจาะรูบนผิวหนัง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดคือราคาแพง ใช้เทคนิคสูง จึงมีคนประยุกต์นำเข็มเล็ก ๆ มาใช้แทนเลเซอร์ อาศัยหลักการคล้ายกัน ปัจจุบันเครื่องมือที่ใช้ก็มีหลากหลาย ทั้งแบบลูกกลิ้ง และแบบตรายาง

“ถามว่าได้ผลไหม เท่าที่สอบถามคนไข้หลายคนจะรู้สึกว่าได้ผล แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือข้อมูลวิชาการที่เป็นเรื่องเป็นราว ต้องยอมรับว่าเท่าที่ค้นก็ยังไม่มีข้อมูลหนักแน่นว่าได้ผลจริงในทางวิทยาศาสตร์ และระยะหลังยังพบว่านิยมเติมสารอื่น ๆ ลงไปด้วย” ...แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังระบุ

พร้อมทั้งบอกอีกว่า... ด้วยความที่เดอร์มาโรลเลอร์กำลังได้รับความนิยม มีคลินิกเปิดให้บริการมากขึ้น สิ่งที่น่ากังวลใจตอนนี้คือเรื่อง

“ความสะอาดของเครื่องมือ” ที่ใช้ เพราะวิธีนี้คือการทำให้เกิดแผลโดยใช้เข็ม หากความสะอาดไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้ทำตามหลักวิชาการทางการแพทย์ โอกาส “เสี่ยงติดเชื้อโรค-ติดเชื้อร้าย” ก็สูง และจากข้อมูลพบว่าปัจจุบันมีหลายคลินิกนำเข็มกลับมาวนให้บริการใหม่ ซึ่งในต่างประเทศเครื่องมือเหล่านี้เมื่อใช้แล้วจะถูกทำลายหรือทิ้ง จะเหมือนกับการฉีดยา เข็มฉีดยาเมื่อใช้แล้วก็ต้องทิ้ง

“ถ้ามีการฆ่าเชื้ออย่างดีก็แล้วไป แต่ถึงแม้จะฆ่าเชื้อแล้วก็ต้องถามใจผู้รับบริการว่าจะสนิทใจหรือไม่ ถ้าจะทำก็ตามใจ แต่ควรดูว่าเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งวิธีที่จะดูว่าปลอดภัยก็คงแนะนำได้แค่ว่าต้องเห็นกับตาทุกครั้ง ว่าเขาแกะซองใหม่ออกมาจริง ๆ หรือต้องเลือกคลินิกที่เราคิดว่าไว้ใจได้” ...รศ.นพ.ประวิตรระบุ

ขณะที่ รศ.นพ.นพดล นพคุณ นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ก็บอกผ่าน “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ว่า... ปัจจุบันการรักษาแผลเป็นลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมสูง ทั้งที่ในความเป็นจริงเครื่องมือดังกล่าวยังไม่ผ่านการรับรองจากทาง อย. ที่ผ่านมาก็เคยมีการจับกุม แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ใช้บริการมากนัก อาจเพราะทำแล้วรู้สึกว่ามันได้ผล ที่รู้สึกว่าได้ผลก็เพราะหน้าดูเต่งตึง หลุมลึกดูตื้นขึ้น ซึ่ง จริง ๆ เป็นผลมาจากอาการอักเสบ คือเป็นเรื่องของความรู้สึก ไม่ได้เป็นผลยืนยันในทางการแพทย์

“ก็ต้องถือว่าเสี่ยง ยิ่งปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการดึงดูดใจคนได้เยอะ หลากหลายวิธี อย่างเช่นสื่ออินเทอร์เน็ต ก็มีทั้งโฆษณาตรง มีการ สร้างเว็บบล็อกบรรยายสรรพคุณเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งดูแล้วก็เหมือนว่าข้อมูลจะมีที่มาจากแหล่งเดียวกันหมด ที่สำคัญมีแต่ข้อดี ไม่มีการระบุถึงผลเสีย ยิ่งถ้าหากไม่ได้ผ่านการทำจากผู้เชี่ยวชาญ ความเสี่ยงก็ยิ่งเพิ่มขึ้น” ...นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังฯระบุ

รศ.นพ.นพดลยังบอกด้วยว่า... ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ออกมามาก ซึ่งหลายชนิดยังไม่มีหลักวิชาการทางการแพทย์รองรับ อีกทั้งยังมี คลินิกความงามบางแห่งที่ผู้ให้บริการไม่ใช่แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ จนเกิดปัญหาตามมามาก ซึ่งการตรวจสอบว่ามีแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังอยู่ที่ใดบ้างสามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ www.dst. or.th หรือตรวจสอบว่าแพทย์ที่ทำการรักษาอยู่ผ่านการฝึกอบรมแพทยสภาหรือไม่ ก็ตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ www.tmc.or.th ของแพทยสภาได้ เพื่อลดความเสี่ยง

ส่วนใครที่สนใจประเด็น “ขาวอันตราย-ขาวปลอดภัย” ทางสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยจะจัดการบรรยายในวันที่ 26 ก.พ.นี้ที่ห้องโลตัส 3-4 โรงแรมเซ็นทรัลเวิลด์ เวลา 13.30-15.00 น. ซึ่งใครที่มีข้อข้องใจก็ไปสอบถามกันได้โดยตรง รวมถึงจะได้ความรู้ใหม่ ๆ ในการเสริมสวย-เสริมหล่ออย่างปลอดภัย

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็มีการเตือนกันต่อเนื่องในหลายกรณี อยากทำสวย-ทำหล่อก็น่าจะได้พินิจพิจารณากันไว้บ้างจะได้ “ไม่เสี่ยง-ไม่อันตราย” ทั้ง ๆ ที่ต้องเสียเงิน !!!.

ที่มา : เดลินิวส์

23.12.12

มะเร็งเต้านม โรคร้ายอันดับ ๑ ของผู้หญิงชาวกรุง

มะเร็งเต้านม โรคร้ายอันดับ ๑ ของผู้หญิงชาวกรุง

ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเท่าเทียมกัน วงการแพทย์ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่ามะเร็งเต้านมเกิดจากสาเหตุใด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผลเด็ดขาด วิธีที่ดีที่สุดที่ทำได้ขณะนี้คือ ต้องค้นหามะเร็งเต้านมให้พบโดยเร็วที่สุด ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก่อนที่มะเร็งจะลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ และทำให้เสียชีวิต

ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงบางคนมีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่นๆ คือเรื่องของกรรมพันธุ์ และวิถีในการดำเนินชีวิต ผู้หญิงควรหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของขนาด และรูปร่างของเต้านม อาการบวมที่รักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต ผิวหนังที่เปลี่ยนแปลง เช่น มีรอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ หรือ บางส่วนเป็นสะเก็ด หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม (ร้อยละ ๒๐ ของการมีเลือดออกเป็นมะเร็ง)
จากสถิติพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๙๐) มีก้อนที่เต้านม แต่อย่าตกใจไป เพราะก้อนในเต้านมที่พบ ใน ๑๐๐ รายมีเพียง ๑๕-๒๐ ราย เท่านั้นที่จะเป็นมะเร็งเต้านม


ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ มะเร็งเต้านม
๑. สาเหตุของการเป็นมะเร็งเต้านม ไม่เกี่ยวกับการถูกกระแทก การถูก จับหรือลูบคลำ และมะเร็งเต้านมไม่ใช่เป็นโรคติดต่อ
๒. ถ้าประวัติครอบครัวมีแม่เป็นมะเร็งเต้านม ลูกสาวก็จะมีความเสี่ยงเพิ่ม ยิ่งถ้าทั้งแม่ พี่สาว หรือน้องสาวเป็นมะเร็งเต้านมพร้อมกัน จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น
๓. ผู้หญิงที่ไม่เคยมีลูก จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิงที่เคยมีลูกและ ผู้หญิงที่มีลูกหลังอายุ ๓๐ ปี จะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มมากกว่าผู้หญิงที่ไม่มีลูก
๔. ผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุน้อย เช่น อายุ ๑๑ ปี ก็เริ่มมีประจำเดือนแล้วและอีกกลุ่มหนึ่งผู้หญิงที่อยู่ในวัยทอง ระหว่างอายุ ๕๐-๕๕ ปี มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
๕. ผู้หญิงที่มีประวัติการเป็นซีสต์ (cyst) หรือถุงน้ำ ไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม แต่ควรจะตรวจเป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์
๖. การกินอาหารที่มีไขมันสูงอาจส่งผลและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ผู้หญิงควรกินอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่เหมาะสม เน้นอาหารที่มีกากใยมากและอาหารไขมันต่ำ รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
๗. ฮอร์โมนไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม แต่ถ้ามีการใช้ฮอร์โมนในขณะที่มีมะเร็งเต้านมจะทำให้มะเร็งเต้านมเติบโตเร็วขึ้น

สรุปคือ ผู้หญิงทุกคนล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมเท่าๆ กัน เพราะผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ ๗๕ ไม่ได้มีความเสี่ยงที่กล่าวข้างต้น

ที่มา : ไทยรัฐ

13.12.12

ยาไพรนารี Ya Prai Naree






ยาไพรนารี Ya Prai Naree


ในยาสมุนไพร 1 แคปซูล ประกอบด้วย
แกแล 5% / แก่นแสมทะเล 5% / ผิวมะกรูด 10% / เมล็ดพริกไทยล่อน 10%
/ เหง้าขิง 5% / ขมิ้นเครือ 5% / หัวไพล 20% / ว่านชักมดลูก 15% / ดีปลี 10%
สมุนไพรอื่นๆ รวม 15%

สรรพคุณ แก้ระดูไม่ปกติ (ประจำเดือนมาไม่ปกติ) ขับน้ำคาวปลา
ไพรนารี เป็นยาเหมาะสำหรับสุภาพสตรีโดย เฉพาะท่านที่มีปัญหาเกี่ยวกับ
- ระดูมาไม่ปกติ คือประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา ปวดมากเวลาที่มา มาน้อย มามาก
- สตรีที่มีปัญหา คันช่องคลอด ตกขาว มีกลิ่นฉุน ให้ทานต่อเนื่องจนกว่าจะปกติ
- ขับน้ำคาวปลา สำหรับสตรี หลังคลอดบุตร จะช่วยขับน้ำคาวปลา ทำให้มดลูกเข้าอู่ได้อีก และอยู่ไฟได้ดี
- ไพรนารี ยังมีผลสำหรับสตรีที่มีปัญหา ฝ้าที่หน้าที่เป็นฝ้าเลือด จะลดลง และปัญหาฮอร์โมนเพศหญิงผิดปกติ และผู้ทีมีฝ้ากระเพิ่มขึ้นตามผิวหนัง
- การรับประทานไพรนารี สามารถทานต่อเนื่องได้ยาวนาน โดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ และไม่มีสารตกค้าง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจ

วิธีใช้ ให้รับประทานครั้งละ 2-3 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร ประมาณ 20-30 นาที เช้า-เย็น
บรรจุ 100 แคปซูล ราคา 600 บาท รหัสสินค้า 106054
สนใจติดต่อ : คุณพิชญ์สินี 083-199 7189
email :
yoshiki_or@hotmail.com

9.12.12

โรคปวดศีรษะ จากความเครียด (จบ)

· การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉันโรคนี้จากลักษณะอาการ และประวัติเกี่ยวกับความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ การคร่ำเคร่งกับงาน
นอกจากมีอาการไม่ชัดเจนและสงสัยเป็นโรคเกี่ยวกับสมอง จึงจะส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ผู้ป่วยและญาติจึงควรบอกเล่าประวัติ และอาการเจ็บป่วยอย่างละเอียด เช่น ปัญหาครอบครัว (สามีมีภรรยาน้อย เล่นการพนัน การทะเลาะกัน) ปัญหาการงาน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้แพทย์วินิจฉันได้ถูกต้อง) และไม่หลงไปส่งตรวจพิเศษให้สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น


· การรักษา
แพทย์จะให้การรักษาโดยให้ยาบรรเทาปวดร่วมกับยาคลายกล้ามเนื้อหรือยากล่อมประสาท
ถ้าพบว่ามีโรควิตกกังวลหรือซึมเศร้าร่วมด้วย ก็จะให้การรักษาภาวะเหล่านี้ไปพร้อมกัน และอาจให้การรักษาด้วยวิธีอื่นร่วมไปด้วย เช่น กายภาพบำบัด เทคนิคการผ่อนคลาย การทำจิตบำบัด การกระตุ้นประสาท ด้วยไฟฟ้า การฝังเข็ม เป็นต้น
ในรายที่มีอาการกำเริบมากกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และแต่ละครั้งปวดนานมากกว่า 3 - 4 ชั่วโมง หรือปวดรุนแรง หรือต้องใช้ยาแก้ปวดบ่อยมาก แพทย์อาจให้ผู้ป่วยกินยาป้องกัน เช่น อะมิทริปไทลีน หรือฟลูออกซีทีน ทุกวันติดต่อกันนาน 1 – 3 เดือน

· ภาวะแทรกซ้อน
โรคนี้ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงแต่อย่างใด นอกจากทำให้วิตกกังวล ไม่สุขสบาย และอาจสิ้นเปลืองเงินทองและเวลาในการแสงหาบริการ ซึ่งผู้ป่วยและญาติมักคิดว่าเป็นโรคร้ายแรง จึงย้ายโรงพยาบาลที่รักษาไปเรื่อย ๆ

· การดำเนินโรค
อาการปวดแต่ละครั้งจะเป็นนานเป็นชั่วโมง ๆ จนเป็นสัปดาห์ หรือแรมเดือน เมื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็มักจะทุเลาไปได้ แต่เมื่อขาดการักษา และมีสิ่งกระตุ้นก็อาจกำเริบได้อีก จึงมักจะเป็น ๆ หาย ๆ ได้บ่อย

· ความชุก
โรคนี้พบได้บ่อย คือ ประมาณร้อยละ 80 -90 ของผู้ที่ปวดศีรษะจะมีสาเหตุจากโรคนี้
พบได้ในคนทุกวัย เริ่มเป็นครั้งแรกตั้งแต่วัยรุ่น หรือวัยหนุ่มสาว (มีโอกาสน้อยมากที่จะมีอาการครั้งแรกหลังอายุ 50 ปีไปแล้ว) และพบมีอาการกำเริบบ่อยในช่วงอายุ 20 -50 ปี
พบว่าผู้หญิงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายประมาณ 1.5 - 2 เท่า

อาการ
ลักษณะเฉพาะของโรคนี้ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตื้อ ๆ หนัก ที่ขมับ หน้าผาก กลางศีรษะ หรือท้ายทองทั้ง 2 ข้าง หรือทั่วศีรษะ หรือปวดรอบศีรษะคล้ายเข็มขัดรัด ต่อเนื่องนานครั้งละ 30 นานถึง 1 ชั่วโมง ส่วนใหญ่มักจะปวดนานเกิน 24 ชั่วโมง บางคนอาจปวดนานติดต่อกันทุกวัน เป็นสัปดาห์ ๆ หรือเป็นแรมเดือนโดยที่อาการปวดจะเป็นอย่างคงที่ ไม่ปวดรุนแรงขึ้นจากวันแรก ๆ ที่เริ่มเป็น ส่วนมากจะเป็นการปวดตื้อ ๆ หนัก ๆ พอรำคาญหรือรู้สึกไม่สุขสบาย ส่วนมากที่อาจปวดรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวัน
ผู้ป่วยจะไม่มีไข้ ไม่เป็นหวัด ไม่มีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน หรือตาพร่าตาลาย และไม่ปวดมากขึ้นเมื่อถูกแสง เสียง กลิ่น หรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย
อาการปวดศีรษะอาจเริ่มเป็นตั้งแต่หลังตื่นนอนหรือในช่วงเช้า ๆ บางคนอาจเริ่มปวดตอนบ่าย ๆ เย็น ๆ หรือหลังจากได้คร่ำเคร่งกับงานมากหรือขณะหิวข้าว หรือมีเรื่องคิดมาก วิตกกังวล มีอารมณ์ซึมเศร้าหรือนอนไม่หลับ

การดูแลตนเอง
เมื่อมีอาการปวดศีรษะเพียงเล็กน้อย ควรกินยาพาราเซตามอลบรรเทา 1 – 2 เม็ด นั่งพักนอนพัก ใช้นิ้วบีบนวด

ควรไปปรึกษาแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
· มีอาการปวดรุนแรง หรืออาเจียนรุนแรง
· มีอาการปวดมากตอนเช้ามือ จนสะดุ้งตื่น หรือปวดแรงขึ้นและนานขึ้นทุกวัน
· มีอาการเดินเซ แขนขาอ่อนแรง หรือชักกระตุก
· มีอาการตาพร่ามัว และตาแดงร่วมด้วย
· มีอาการปวดศีรษะหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
· ดูแลตนเอง 2 -3 วันแล้วไม่ดีขึ้น
· มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะรักษาตนเอง

การป้องกัน
ผู้ป่วยควรป้องกันไม่ให้กำเริบโดยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่าปล่อยให้หิว อย่าคร่ำเคร่งกับงานมากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้สายตาจนเมื่อยล้า ออกกำลังเป็นประจำ หาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ ถ้าจำเป็นควรกินยาป้องกันตามที่แพทย์แนะนำ


ที่มา : นพ. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

โรคปวดศีรษะ จากความเครียด (1)

โรคปวดศีรษะ จากความเครียด
โรคปวดศีรษะจากความเครียด เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของผู้ที่มีอาการปวด ศีรษะ มักจะมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่องนานเป็นวัน ๆ จนถึงเป็นสัปดาห์ หรือเป็นแรมเดือน โดยจะปวดอย่างคงที่ ไม่แรงขึ้นกว่าวันแรก ๆ ที่ปวด จัดว่าเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แต่จะเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง
“โรคนี้มีอาการปวดศีรษะ ต่อเนื่องนานเป็นวันๆ จนถึงสัปดาห์”
· ชื่อภาษาไทย โรคปวดศีรษะจากความเครียด โรคปวดศีรษะแบบตึงเครียด
· ชื่อภาษาอังกฤษ Tension-type headache (TTH), Tension headach, Muscle contraction hedache, Psychogenic headache
· สาเหตุ
อาการปวดศีรษะของผู้ป่วยโรคนี้เป็นผลมาจากมีการเกร็งตัว ตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและใบหน้า ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุและกลไกของการเกิดโรคอย่างแน่ชัด สันนิษฐานว่าเกิดจากสิ่งเร้ากระตุ้นที่กล้ามเนื้อและพังผืดบริเวณรอบกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของประสาทขึ้นตรงประสาทส่วนกลาง (อาจเป็นส่วนของไขสันหลัง หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ที่เลี้ยงบริเวณศีรษะและใบหน้า) แล้วส่งผลกลับมาที่กล้ามเนื้อรอบกะโหลกศีรษะ ทำให้เกิดการเกร็งตัว ตึงตัวของกล้ามเนื้อดังกล่าว รวมทั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมี เช่น เอนดอร์ฟิน ซีโรโทนนิน ) ในเนื้อเยื่อดังกล่าว ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ
ส่วนใหญ่มักพบว่ามีสาเหตุกระตุ้น อดนอน ตาล้าตาเพลีย (จากใช้สายตามากเกิน)
นอกจากนี้ ยังพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีโรควิตกกังวลซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์ หรือการปรับตัว บางครั้งอาจพบร่วมกับโรคปวดศีรษะไมเกรน
· การแยกโรค
อาการปวดศีรษะที่เป็นต่อเนื่องกันเป็นวัน ๆ ขึ้นไป ควรแยกออกจากสาเหตุอื่น เช่น
1. ไมเกรน
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตุบ ๆ ที่ขมับข้างเดียว (ส่วนน้อยเป็นพร้อมกัน 2 ข้าง ) คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า นาน 4 -72 ชั่วโมง มักจะเป็น ๆ หาย ทุกครั้งที่มีอาการกำเริบ มักจะเกิดจากสิ่งกระตุ้น เช่น แสง เสียง กลิ่น อดนอน อดข้าว อากาศร้อนหรือเย็นจัด อาหารบางชนิด เหล้า ผงชูรส โดยมากจะเริ่มเป็นตั้งแต่วัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะจากความเครียดร่วมด้วย
2. เนื้องอกสมอง
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดมากเวลาตื่นนอนตอนเช้า พอตอนเช้า พอสาย ๆ ก็ทุเลาไป ไม่ปวดต่อเนื่องทั้งวันอาการดังกล่าวจะเป็นแรงขึ้นทุกวันจนผู้ป่วยต้องสะดุ้ง ตื่นตอนเช้ามืดเพราะรู้สึกปวด และจะปวดนานขึ้นทุกวันจนในที่สุดจะปวดตลอดเวลา ซึ่งกินยาแก้ปวดไม่ทุเลาในระยาต่อมาอาจมีอาการอาเจียน เดินเซ เห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง ชัก ความจำเสื่อม บุคลิกภาพเปลี่ยนไปจากเดิม
3. โรคทางสมองอื่น ๆ
เช่น เลือดออกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงและอาเจียน ตั้งแต่วันแรก ๆ ที่ปวด บางคนอาจมีไข้สูง ซึม ชัก ร่วมด้วย
4. ต้อหินชนิดเฉียบพลัน
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตาและศีรษะข้างเดียวอย่างรุนแรงและฉับพลันทันที ตาพร่ามัว แสบตาข้างที่ปวดจะมีสิ่งรบกวน ตาแดง ๆ ตรงบริเวณตาขาว (รอบ ๆ ตาดำ) อาการปวดจะเป็นต่อเนื่องเป็นวัน ๆ ซึ่งกินยาแก้ปวดก็ไม่ทุเลา