26.11.12

อุจจาระบอกสุขภาพ . . .

อุจจาระบอกสุขภาพ . . .
นิสัยการกินส่งผลต่อสุขภาพ แต่ตอนกินอาจจะไม่ทันตั้งสติหรือไม่แน่ใจว่ากินอะไรเข้าไปบ้าง ไม่เป็นไรค่ะ เช้าวันรุ่งขึ้นก้มมองเสียหน่อยหลังปลดทุกข์หนักก็พอจะบอกได้ว่านิสัยการกินและสุขภาพของเจ้าของทุกข์นั้นเป็นอย่างไรบ้าง

เริ่มจากสังเกตสี และลักษณะ


ถ้าอุจจาระเป็นสีน้ำตาลดำ ลักษณะหนืดเหนียว จมน้ำ แสดงว่าคุณทานเนื้อสัตว์มาก
ถ้าคุณกินผักมาก อุจจาระจะเป็นสีเขียวขี้ม้า
ถ้าคุณกินมะละกอ อุจจาระก็จะออกสีแดงๆ
ถ้าคุณกินธัญพืชและข้าวซ้อมมือมาก อุจจาระจะออกสีน้ำตาลอ่อนและลอยน้ำได้
ถ้าถ่ายแล้วแสบก้น แสดงว่าคุณกินพริกมากเกินไป
ถ้ามีคราบไขมันลอย ให้สำรวจตัวเองว่าคุณกินอาหารมันเกินไปหรือเปล่า
ถ้าอุจจาระยังมีชิ้นส่วนที่บ่งบอกได้ว่ากินอะไรเข้าไป เช่น เศษมะเขือเทศ ข้าวฟ่างลอยเป็นเมล็ด ข้าวโพดที่ยังดูเป็นข้าวโพด แสดงว่าคุณน่าจะเคี้ยวอาหารให้ละเอียดขึ้นนะคะ
ตามธรรมชาติอุจจาระจะเปลี่ยนสีตามอาหารที่เรารับประทานเข้าไปอยู่แล้ว แต่ถ้าเมื่อไหร่สีของอุจจาระมีลักษณะหรือสีดังต่อไปนี้

มีเลือดสดๆ ปนในตอนท้ายๆ ของการอุจจาระ อาจเกิดจากโรคริดสีดวงทวาร


อุจจาระมีสีดำเหมือนถ่าน โดยที่ไม่ได้กินยาบำรุงเลือดจำพวกธาตุเหล็ก แสดงว่าอาจจะมีเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้
อุจจาระสีเหลืองซีด อาจเกิดจากการอักเสบของลำไส้ หรือมะเร็งได้

ถ้าอุจจาระมีอาการทั้งหลายเหล่านี้ อย่าได้นิ่งนอนใจค่ะ พบแพทย์ด่วน

เอ ว่าแต่ . . . เช้านี้เพื่อนๆ ตรวจสุขภาพแล้วหรือยังคะ. . .?

19.11.12

กระดูกพรุน From Eat Well, Stay Well

กระดูกพรุน From Eat Well, Stay Well
อะไรคือสาเหตุ
การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหลังหมดประจำเดือนอาจมีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน เพราะฮอร์โมนดังกล่าวช่วยในการดูดซึมแคลเซียม (ชายสูงอายุก็เกิดภาวะกระดูกพรุนได้แต่มักสูญเสียมวลกระดูกน้อยกว่า เพราะมีกระดูกหนาแน่นกว่า) ปัยจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การหมดประจำเดือนเร็ว ขาดการออกกำลังกายที่เน้นการรับน้ำหนักของกระดูก เช่น การเดิน และการขาดแคลเซียมและสารอาหารอื่นที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูก มีโครงสร้างกระดูกเล็ก (ผู้หญิงผิวขาวและผู้หญิงเอเชีย) น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ หรือหมดประจำเดือนแล้ว รวมทั้งคนที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือเคยกินสเตียรอยด์หรือยากันชักมานาน


ภาวะนี้เป็นอย่างไร

กระดูกพรุน (osteoporosis) เป็นอาการที่มวลกระดูก (ส่วนที่เป็นแร่ธาตุ) ลดลงอย่างต่อเนื่องจนทำให้โครงสร้างกระดูกอ่อนแอ แตกหักง่าย ภาวะนี้เกิดกับผู้หญิงถึง 1 ใน 3 และผู้ชายจำนวนมาก แม้การใช้ฮอร์โมนทดแทนจะป้องกันภาวะนี้ได้ แต่ผู้หญิงมากมายไม่อยากใช้วิธีนี้ แม้ยังไม่มีมาตรการใดที่ป้องกันได้เต็มที่ แต่การกินสารเสริมอาหารและเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตจะช่วยลดการสูญเสียได้

สารเสริมอาหารช่วยได้อย่างไร

คู่มือฉลาดใช้ วิตามิน แร่ธาตุและสมุนไพร
สารเสริมอาหารที่แนะนำช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้นเมื่อกินอย่างน้อย 6 เดือน โดยใช้ร่วมกับยารักษากระดูกพรุนและการบำบัดด้วยฮอร์โมน การกินสารเสริมอาหารสูตรบำรุงกระดูกอาจสะดวกกว่า แต่ต้องระวังหากกำลังกินยาป้องกันเลือดแข็งตัว เพราะอาจมีวิตามินเคที่ทำให้เลือดแข็งตัวง่ายขึ้น...

ที่มา : readersdigest.co.th