3.12.15

โรคความดันโลหิตต่ำ คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และวิธีป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำ

สำหรับโรคความดันโลหิตต่ำนั้นโดยทั่วไปผู้คนส่วนใหญ่มักมองข้าม เพราะจะให้ความสำคัญกับโรคความดันโลหิตสูงกันมากกว่า เนื่องจากคิดว่าอันตรายกว่าโรคความดันโลหิตต่ำ แถมคนส่วนใหญ่ก็มักเป็นโรความดันโลหิตสูง ทำให้หลายๆคนพุ่งเป้าเน้นไปที่โรคความดันโลหิตสูงกัน แต่สำหรับโรคความดันโลหิตต่ำนั้นก็เป็นภัยเงียบที่ร้ายแรงและอันตรายไม่แพ้ความดันโลหิตสูงเลยทีเดียว

โรคความดันโลหิตต่ำคืออะไร โรคความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) คือ ภาวะที่ค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90 – 50 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งพบมากในผู้หญิงที่ร่างกายอ่อนแอหรือผู้สูงอายุที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน และหากใครที่มีความดันโลหิตต่ำมากๆ จะส่งผลให้เลือดในร่างกายเกิดการไหลเวียนช้าลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ และเกิดลิ่มเลือดได้ง่ายทำให้บริเวณหลอดเลือดเกิดการอุดตันขึ้น

สำหรับโรคความดันโลหิตต่ำนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดเรื้อรัง และชนิดเฉียบพลัน โดยความดันโลหิตต่ำชนิดเรื้อรังอาจเป็นมาแต่กำเนิดแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือเกิดจากพันธุกรรม รวมทั้งการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็วก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ตลอดจนการใช้ยาหรือเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ส่วนความดันโลหิตต่ำชนิดเฉียบพลันจะมีความดันลดลงอย่างรวดเร็วกว่าปกติ มักหน้ามืดหรือช็อกจนหมดสติ

สาเหตุของโรคความดันโลหิตต่ำ
สำหรับความดันโลหิตต่ำนี้มักมีสาเหตุจากหลายๆ ปัจจัย โดยความดันต่ำเกิดจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงของปอด หรือลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติเพราะอัตราการส่งเลือดออกจากหัวใจลดลง รวมทั้งหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ ตลอดจนภาวะขาดน้ำทำให้ปริมาณเลือดในร่างกายลดลง หรือมีการขยายตัวของหลอดเลือดมากเกินปกติเนื่องจากโรคภูมิแพ้ ช็อกจากภาวะติดเชื้อ การใช้ยาบางชนิด และในหญิงตั้งครรภ์ หรือการอยู่ท่ามกลางแสงแดดจัดๆ เป็นต้น


อาการของโรคความดันโลหิตต่ำ โดยทั่วไปผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำก็มักไม่มีอาการเช่นเดียวกับโรคความดันโลหิตสูง ส่วนในผู้ที่มีอาการก็เช่น จะรู้สึกเวียนศีรษะง่าย หรือหน้ามืดเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถจากท่าหนึ่งไปเป็นอีกท่าหนึ่ง และมักจะรู้สึกอ่อนเพลียง่ายแม้ว่าได้นอนเต็มอิ่มแล้วก็ตาม หรืออาจหูอื้อ ตาลาย ปวดศีรษะ หลัง หรือบั้นเอว สมองล้า ขี้ลืม ไม่มีสมาธิ และมือเท้าเย็น หรือชักหมดสติ และในบางคนที่มีอาการของโรคความดันโลหิตต่ำมากก็อาจถึงขึ้นเสื่อมสมรรถภาพทางเพศไปเลย

การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตต่ำ
เมื่อไปพบแพทย์แล้วแพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตต่ำโดยการ
วัดความดันโลหิต ซักประวัติและอาการ รวมทั้งมองถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทั้งอายุ โรคเรื้อรัง การเคยได้รับยาบางชนิด เช่น เบาหวาน หรือยาโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น และการขาดน้ำเนื่องจากอาเจียนรุนแรง หรือท้องเสีย จากนั้นก็อาจเจาะเลือดดูค่าของระดับน้ำตาลในเลือดในกรณีเป็นเบาหวาน หรือตรวจโดยคลื่นไฟฟ้าหัวใจกรณีสงสัยว่าเป็นโรคหัวใจ เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์เป็นหลัก

การรักษาโรคความดันโลหิตต่ำ
สำหรับการรักษาโรคความดันโลหิตต่ำนั้น แพทย์จะช่วยเพิ่มระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยรักษาตามอาการของสาเหตุที่เกิดโรคความดันโลหิตต่ำ อย่างภาวะขาดน้ำ แพทย์ก็จะรักษาโดยการให้น้ำและเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำ หรือหากอยู่ในภาวะขาดเลือดเสียเลือดมากก็จะให้เลือดทดแทนที่เสียไป และเมื่อหลอดเลือดเกิดอาการขยายตัวผิดปกติ แพทย์ก็จะทำการรักษาโรคความดันโลหิตต่ำโดยการให้ยาเพิ่มความดันหรือเพิ่มการบีบตัวของหลอดเลือด ตลอดจนเป็นเบาหวานแพทย์ก็จะปรับยาเบาหวานให้แก่ผู้ป่วยโรคความดันต่ำนี้ เป็นต้น


การดูแลตนเองหลังการรักษาโรคความดันโลหิตต่ำ
หลังพบแพทย์ทำการรักษาเรียบร้อยแล้วควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด รับประทานยาต่างๆ อย่างถูกต้อง ดื่มน้ำเปล่าให้ได้อย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว รู้จักเคลื่อนไหวร่างกายให้สม่ำเสมอบริหารร่างกายให้เป็นนะคะ โดยเฉพาะเวลาจะเปลี่ยนอิริยาบถไม่ว่าจะเป็นท่าใดก็แล้วแต่ให้ค่อยๆ ทำหรือเปลี่ยนอย่างช้าๆ ไม่ควรรีบเปลี่ยนอิริยาบถเพราะจะทำให้หน้ามืดเป็นลมล้มลงได้ง่ายๆ รวมทั้งไม่ยืนหรือนั่งไขว้ห้างเป็นเวลานาน ตลอดจนรับประทาน
อาหารในปริมาณพอเหมาะแก่ร่างกาย และหากอาการไม่ดีขึ้นหรือเกิดเจ็บแน่นหน้าอกขึ้นมาให้รีบกลับไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอีกครั้งโดยเร็วนะคะ

การป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำ
- ระมัดระวังในการใช้ยา หลีกเลี่ยงการซื้อยามารับประทานเอง
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวันอย่างน้อยวันละประมาณ 6 – 8 แก้ว เป็นประจำสม่ำเสมอ
- ทำการรักษาโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะโรคความดันโลหิตต่ำ
- เปลี่ยนท่าหรืออิริยาบถต่างๆ ให้ช้าลง
- ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ และเลือกประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมแก่ร่างกายตนเอง
- รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5
หมู

ดังนั้น การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะการไม่มีโรค…เป็นลาภอันประเสริฐจริงๆ ต่อให้มีเงินทองมากขนาดไหนหากร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยบ่อยก็คงไม่มีความสุข ฉะนั้นเราต้องรู้เท่าทันโรคต่างๆ ที่เกิดกับเราให้ดี หมั่นดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงไม่ให้โรคต่างๆเข้ามากล้ำกราย

ที่มา : เกร็ดความรู้ดอทเน็ท

25.11.15

หลินจือต้านมะเร็ง ต้มดื่มทุกวัน ไร้ผลข้างเคียง


 

เห็ดหลินจือ ยอดแห่งสมุนไพรจากแผ่นดินจีน ความหวังของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ต้านมะเร็ง เสริมภูมิต้านทาน เสริมการรักษา-ลดความทรมานจากเคมีบำบัด ขับพิษ บำรุงร่างกาย ปราศจากผลข้างเคียง

          หากจะพูดถึงโรคมะเร็งแล้ว มะเร็งถือว่าเป็นโรคร้ายอันดับต้น ๆ และเป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดในแต่ละปี เพราะโรคมะเร็งนั้น เมื่อเป็นแล้วก็ยากจะรักษา หากปล่อยให้ลุกลามก็ทำให้เสียชีวิตได้ภายในเวลาเพียงไม่นาน และถึงแม้ว่าจะพอมีวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดหรือการใช้รังสีอยู่บ้าง ผู้ป่วยก็ล้วนต้องเผชิญกับผลข้างเคียงหลายอย่าง เช่น ผมร่วง คลื่นไส้ ท้องร่วง หรือเกิดรอยฟกช้ำที่ผิวหนังได้ง่ายกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทรมานกับการต่อสู้มะเร็งร้ายอยู่ไม่น้อย กว่าที่เซลล์มะเร็งจะถูกกำจัดหายไป

      

          แต่นอกเหนือจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือคีโม แล้ว จะมีสักกี่คนที่รู้บ้างว่า มีเห็ดชนิดหนึ่งที่ช่วยทำลายเซลล์มะเร็ง และลดผลข้างเคียงจากการทำคีโมได้ (กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งแล้ว) รวมถึงช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง สำหรับคนที่ยังไม่เป็นมะเร็งอย่างได้ผล ซึ่งเห็ดที่กำลังจะพูดถึงนี้ คือเห็ดที่ได้รับฉายาว่าเป็นยาอายุวัฒนะอย่าง เห็ดหลินจือ นั่นเอง

          เห็ดหลินจือ (Ling Zhi, Reishi) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ganoderma lucidum เป็นยาจีนชั้นสูง ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี ได้รับการบันทึกไว้สรรพคุณไว้ใน ตำรา “เสินหนงเปิ่นฉ่าวจิง” ตั้งแต่ยุคสมัยฮั่นของจีน มีชื่อเรียกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น หลิงจือ เห็ดหมื่นปี เห็ดจวักงู เห็ดอมตะ เห็ดศักดิ์สิทธิ์ และยังถูกเรียกว่าราชาสมุนไพรเนื่องจากสรรพคุณทางยาในการบำรุงร่างกาย ขับพิษ ป้องกันและรักษาโรคที่ดีเลิศกว่าสมุนไพรชนิดอื่น เห็ดหลินจือนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและมีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่นิยมนำมาบริโภคเพื่อบำรุงร่างกายและรักษาโรคมากที่สุดก็คือ เห็ดหลินจือแดง เนื่องจากมีสารที่เป็นประโยชน์มากที่สุด

          ด้วยสรรพคุณทางยาที่มากมายของเห็ดหลินจือ ทำให้มันถูกนำมาใช้มาเป็นหนึ่งในสมุนไพรต้านมะเร็ง โดยทางการแพทย์ทั้งในไทยและต่างประเทศ ได้มีการศึกษาวิจัยแล้วว่า เห็ดหลินจือนั้นมีคุณสมบัติในการต่อต้านโรคมะเร็งที่ได้ผลดีเยี่ยม และหากใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ก็จะช่วยลดผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัดให้แก่ผู้ป่วยอีกด้วย ซึ่งสรรพคุณของเห็ดหลินจือที่ออกฤทธิ์ต่อโรคมะเร็ง นพ.บรรเจิด ตันติวิท ผุ้เขียนหนังสือ”หลินจือ กับ ข้าพเจ้า” ระบุว่า มีดังนี้







เห็ดหลินจือกับการต้านโรคมะเร็ง

      
1. เห็ดหลินจือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี สามารถขจัดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้

       2. เห็ดหลินจือช่วยทำให้ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์มะเร็งต่ำลง ซึ่งจะช่วยให้ให้เม็ดเลือดขาวเข้าไปต่อสู้ทำลายเซลล์มะเร็งได้

       3. เห็ดหลินจือช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้สามารถออกฤทธิ์ต่อต้านกับเซลล์มะเร็งในร่างกายได้ ทั้งยังไม่ทำลายเซลล์ปกติที่อยู่รอบเซลล์มะเร็งอีกด้วย

       4. เห็ดหลินจือช่วยร่างกายเพิ่มระดับและความสามารถในการสังเคราะห์เม็ดเลือด ซึ่งรวมถึงปริมาณของเม็ดเลือดขาว ที่จะถูกสังเคราะห์มากขึ้นเช่นกัน

       5. เห็ดหลินจือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเม็ดเลือดขาวในการทำลายเซลล์มะเร็ง จากการวิจัยพบว่าเม็ดเลือดขาว ชนิด Macrophage เมื่อได้รับสารสกัด Polysaccharide จากเห็ดหลินจือ จะมีการสร้างสารเคมีที่ช่วยในการต้านมะเร็งเพิ่มขึ้น 5 - 29 เท่า

       6. เห็ดหลินจือจะช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของตับที่ถูกทำลายจากการรับประทานยาจำนวนมากติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ตับทำงานได้ดีขึ้น

       7. ในการแพทย์แผนจีน โรคมะเร็งนั้นอาจะเรียกได้ว่าเป็นโรคที่เกิดจากพิษ การทานเห็ดหลินจือที่มีสรรพคุณในการขับพิษ จึงช่วยลดสารก่อมะเร็งได้

       8. หากมีการใช้เห็ดหลินจือความคู่กับการทำเคมีบำบัด จะช่วยผลข้างเคียงและความเจ็บปวดจากการทำเคมีบำบัดได้

       9. ในการใช้เห็ดหลินจือความคู่กับการทำเคมีบำบัดนั้น หากมีการใช้วิตามินซีร่วมด้วย จะทำให้ร่างกายสามารถดูดซับ สารโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) ในเห็ดหลินจือได้มากขึ้น ซึ่งสารนี้จะช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันการลุกลามของเซลล์มะเร็ง และช่วยปรับปรุงการทำงานของตับอ่อน

          และนอกเหนือจากสรรพคุณข้างต้นนี้ เห็ดหลินจือยังมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายอย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะช่วยในเรื่องระบบหมุนเวียนโลหิต ลดความดันโลหิต ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ล้างพิษ ชะลอวัย บำรุงผิวหนังให้นุ่มและชุ่มชื้น รวมถึงการบำรุงระบบประสาท ส่วนสำหรับวิธีการนำเห็ดหลินจือมารับประทานนั้น มีดังนี้


วิธีใช้


     1. ดอกเห็ดหลินจือฝานบาง ๆ ประมาณ 2-3 ชิ้น

     2. ต้มในน้ำเดือดนาน 10-15 นาที

     3. ใช้ดื่มแทนน้ำได้ตลอดเวลา เพราะไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่ช่วงเวลาที่ร่างกายจะสามารถดูดซับสารจากเห็ดหลินจือได้ดีที่สุดนั้น ก็คือช่วงเวลาที่ท้องว่าง โดยแนะนำให้ดื่มในช่วงตื่นนอนในตอนเช้า หรือก่อนเข้านอน 1 ชั่วโมง

     4. เห็ดหลินจือใช้ทานเพื่อเป็นยา ไม่ควรนำไปปรุงร่วมกับอาหารชนิดอื่น

     5. สามารถทานเห็ดหลินจือได้เรื่อย ๆ เพราะเป็นยาอายุวัฒนะ ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

     6. กรณีทานยาเม็ดแคปซูลที่เป็นสารสกัดจากเห็ดหลินจือเพื่อต้านมะเร็งนั้น

          อย่างไรก็ตามก่อนที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งจะตัดสินใจใช้เห็นหลินจือเป็นยาเสริมนั้นควรจะมีการปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือแพทย์ผู้ให้เคมีบำบัดก่อนทุกครั้ง แต่แม้ว่าเห็ดหลินจือจะเป็นยาวิเศษ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคบางชนิด เห็ดหลินจือก็อาจก่อให้เกิดผลที่ตรงข้าม ยาวิเศษอาจกลายเป็นยาพิษได้เช่นกันหากใช้กันผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกรณีต่อไปนี้

 
ข้อควรระวัง
   

     1. ห้ามใช้เห็ดหลินจือ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิต้านเนื้อเยื่อของตนเอง (Autoimmune Disease) ซึ่งภูมิคุ้มกันในร่างกายจะเข้าโจมตีตัวเอง นั่นเพราะเห็นหลินจือจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของระบบภุมิคุ้นกันในร่างกาย ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ถูกทำให้แข็งแรงขึ้นนี้จะยิ่งก่อให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกายมากขึ้น ซึ่งโรคในกลุ่มนี้ซึ่งเป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่ โรคลูปัส หรือ เอสแอลอี (SLE) หรือ โรคพุ่มพวง นั่นเอง

     2. ห้ามใช้เห็ดหลินจือ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เพราะมีแนวโน้มที่ผลจากเห็ดหลินจือจะเข้าไปลบล้างหรือขัดขวางการบำบัดด้วยยากดภูมิ

          ดังจะเห็นได้จากข้างต้นว่าเห็ดหลินจือนั้นเป็นยาที่สามารถบำรุงร่างกายและยังมีฤทธิ์ในการระงับมะเร็งอย่างได้ผล ซึ่งนั่นก็จะสร้างความหวังในการรักษาและบำบัดอาการแก่ผู้ป่วยที่ต้องทรมานจากโรคมะเร็งมากขึ้น อย่างไรก็ดี สุขภาพที่ดีต้องสร้างขึ้นด้วยมือของเราเอง อีกหนึ่งวิธีการป้องกันตัวให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งนั้นก็คือ การดูแลในเรืองอาหารการกิน ซึ่งนับเป็นสิ่งไม่ยากที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง


ทานอาหารอย่างไร ให้ห่างไกลจากโรคมะเร็ง

     1. ผักและผลไม้ ในแต่ละปีควรเลือกทานผักและผลไม้ที่หลากหลาย ผักและผลไม้บางประเภทมีสารที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการทำลายเซลล์ที่ก่อมะเร็ง อีกทั้งยังมีสารต้านมะเร็ง สามารถยับยั้งการเกิดสารมะเร็งได้ เช่น คะน้า บรอกโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก มะเขือเทศ กระเทียม หัวหอม ขึ้นฉ่าย ผักโขม แครอท แอปเปิล ส้ม บีทรูท เห็ดหลินจือ

    
     2. น้ำสะอาด ช่วยทำความสะอาดและขจัดสารพิษสิ่งสกปรกออกจากเซลล์ในร่างกาย ควบคุมสมดุลกรดด่างและยังนำสารอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่เซลล์ด้วย จึงควรดื่มน้ำสะอาดในอุณหภูมิปกติให้ได้วันละอย่างน้อย 6-8 แก้ว
    
3. ธัญพืชต่าง ๆ ซึ่งเปี่ยมไปด้วยมีสารแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยต้านมะเร็ง โดยฉพาะ ลูกเดือย ที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก จึงลดการเกิดโรคมะเร็งได้

     4. ลดการรับประทานเนื้อสัตว์สีแดงและหันมาทานอาหารจำพวก เนื้อปลา เป็ด ไก่ หรือเนื้อสัตว์เล็กอื่นแทน

     5. งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์

     6. จำกัดการทานอาหารมันและน้ำมัน ทางที่ดีควรเลือกทานกลุ่มน้ำมันพืช


          แม้ว่าการรับประทานอาหารจะไม่ใช่ทั้งหมดของการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งที่มีปัจจัยเหตุในการเกิดโรคหลายทาง แต่นี่ก็คือสิ่งเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเราสามารถมารถกระทำได้ด้วยตัวเอง หันมาเอาใจใส่กับตัวเองสักนิดเพื่อชีวิตที่สดใส เพราะสิ่งที่เราจะได้รับนั้นไม่ใช่เพียงการสร้างเกราะต้านมะเร็งให้กับตนเองเท่านั้น แต่มันคือการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ตัวเอง ให้ห่างไกลจากโรคภัยต่าง ๆ และแน่นอนว่า ต้องไม่ลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ
 
ที่มา กระปุกดอทคอม