กระดูกพรุน From Eat Well, Stay Well
อะไรคือสาเหตุ
การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหลังหมดประจำเดือนอาจมีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน เพราะฮอร์โมนดังกล่าวช่วยในการดูดซึมแคลเซียม (ชายสูงอายุก็เกิดภาวะกระดูกพรุนได้แต่มักสูญเสียมวลกระดูกน้อยกว่า เพราะมีกระดูกหนาแน่นกว่า) ปัยจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การหมดประจำเดือนเร็ว ขาดการออกกำลังกายที่เน้นการรับน้ำหนักของกระดูก เช่น การเดิน และการขาดแคลเซียมและสารอาหารอื่นที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูก มีโครงสร้างกระดูกเล็ก (ผู้หญิงผิวขาวและผู้หญิงเอเชีย) น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ หรือหมดประจำเดือนแล้ว รวมทั้งคนที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือเคยกินสเตียรอยด์หรือยากันชักมานาน
ภาวะนี้เป็นอย่างไร
กระดูกพรุน (osteoporosis) เป็นอาการที่มวลกระดูก (ส่วนที่เป็นแร่ธาตุ) ลดลงอย่างต่อเนื่องจนทำให้โครงสร้างกระดูกอ่อนแอ แตกหักง่าย ภาวะนี้เกิดกับผู้หญิงถึง 1 ใน 3 และผู้ชายจำนวนมาก แม้การใช้ฮอร์โมนทดแทนจะป้องกันภาวะนี้ได้ แต่ผู้หญิงมากมายไม่อยากใช้วิธีนี้ แม้ยังไม่มีมาตรการใดที่ป้องกันได้เต็มที่ แต่การกินสารเสริมอาหารและเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตจะช่วยลดการสูญเสียได้
สารเสริมอาหารช่วยได้อย่างไร
คู่มือฉลาดใช้ วิตามิน แร่ธาตุและสมุนไพร
สารเสริมอาหารที่แนะนำช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้นเมื่อกินอย่างน้อย 6 เดือน โดยใช้ร่วมกับยารักษากระดูกพรุนและการบำบัดด้วยฮอร์โมน การกินสารเสริมอาหารสูตรบำรุงกระดูกอาจสะดวกกว่า แต่ต้องระวังหากกำลังกินยาป้องกันเลือดแข็งตัว เพราะอาจมีวิตามินเคที่ทำให้เลือดแข็งตัวง่ายขึ้น...
ที่มา : readersdigest.co.th