7.10.12

พยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini

พยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini

เป็นพยาธิที่เป็นปัญหาความสำคัญทางด้านสาธารณสุขทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย จากรายงานการศึกษาในสัตว์ทดลองและการระบาดในคนพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้ ซึ่งมีอุบัติการสูงที่สุดในโลก (Vattanasapt et al., 1999) พยาธิใบไม้ตับชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายใบไม้ มีความยาว 5-10 มิลลิเมิตร กว้าง 1-2 มิลลิเมตร มีวงจรชีวิตดังนี้ระยะติดต่อเรียกว่า metacercaria จะอาศัยอยู่ตามกล้ามเนื้อปลาพวกปลาวงศ์ปลาตะเพียน (cyprinoid fish)

เมื่อคนรับประทานปลาที่ปรุงไม่สุก หรือสุกๆดิบๆ เช่นก้อยปลา ปลาส้ม ปลาจ่อม ก็จะติดเชื้อพยาธิโดยตัวอ่อนของพยาธิจะถูกย่อยและออกจากเยื่อหุ้ม (cyst) ลำไส้เล็กเป็นระยะวัยรุ่น (juvenile fluke) และคืบคลานไปตามท่อน้ำดีรวม ท่อน้ำดีภายในตับ ถุงน้ำดี ซึ่งเป็นบริเวณที่อาศัยอยู่จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย และมีการสืบพันธุ์ พยาธิชนิดนี้เป็นพวก hermaphodrite กล่าวคือเป็นพวกที่ 2 เพศภายในตัวเดียวกัน สามารถผสมพันธุ์ข้ามกับตัวอื่น ขณะเดียวกันหากอยู่ตัวเดียวก็สามารถผสมพันธุ์กับตัวเองได้ จากนั้นก็จะมีการปลดปล่อยไข่ออกมากับอุจจาระ หากมีการสุขาภิบาลไม่ดี ไข่ที่ปนเปลือนมานี้จะถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำทำให้ไข่มีการฟักให้ตัวอ่อนออกมาเมื่อมีอุณหภูมิ แสง และสภาวะต่างๆที่เหมาะสม ได้เป็นระยะ miracidium-> sporocyst-redia->cercaria->metacercaria การติดเชื้อพยาธิชนิดนี้ทำให้เกิดพยาธิสภาพต่าง ๆ เช่น การเกิด epitherial metaplasia, dysplasia, granalumatous, และ fibrosis การตรวจผู้ป่วยวิธีที่นิยมใช้คือการตรวจด้วยวิธีตรวจไข่ในอุจจาระหรือเรียกว่า stool examination ปัจจุบันมีการพัฒนาวิธิการตรวจทางน้ำเหลืองวิทยาเช่น enzyme linked immunosorbent assay และทางด้าน
ชีวโมเลกุลเช่น polymerase chain reaction การรักษา ให้ยา praziquantel 40 mg/kg