ไขมันในเลือดชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและสุขภาพของเรา
นั่นก็คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ และผู้หญิงที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมอีกด้วย......
ไตรกลีเซอไรด์สูง : เสี่ยงโรคหัวใจ& มะเร็งเต้านม ไขมันชนิดนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสื่อมของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์ ได้เช่นเดียวกับการมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ไตรกลีเซอไรด์ปริมาณสูงทำให้เลือดข้นเหนียวขึ้น เกิดการจับตัวกันเป็นลิ่มและอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจและสมอง ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมากๆ อาจจะทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบได้ ในผู้หญิงระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้นด้วย เพราะไตรกลีเซอไรด์ที่สูงจะไปกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ไหลเวียนอยู่สูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเป็นมะเร็งเต้านม
ไตรกลีเซอไรด์สูง : เสี่ยงโรคหัวใจ& มะเร็งเต้านม ไขมันชนิดนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสื่อมของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์ ได้เช่นเดียวกับการมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ไตรกลีเซอไรด์ปริมาณสูงทำให้เลือดข้นเหนียวขึ้น เกิดการจับตัวกันเป็นลิ่มและอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจและสมอง ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมากๆ อาจจะทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบได้ ในผู้หญิงระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้นด้วย เพราะไตรกลีเซอไรด์ที่สูงจะไปกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ไหลเวียนอยู่สูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเป็นมะเร็งเต้านม
7
วิธีลดเสี่ยงจากไตรกลีเซอไรด์ ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดปกติไม่ควรเกิน
150
มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
และถ้าพบว่าสูงมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ควรควบคุมโดยการคุมอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
อาหารที่มีไขมันมาก และงดสูบบุหรี่ รวมถึงลดการบริโภคแอลกอฮอล์ทุกประเภท
และถ้าคุณเป็นอีกคนที่อยากลดความเสี่ยงกับการมีไตรกลีเซอไรด์สูง
ก็ควรปรับไสฟ์สไตล์และดูแลสุขภาพตัวเองดังนี้ค่ะ
1.ระวังแป้งและน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงผิดปกติเกิดจากการได้รับพลังงานหรือแคลอรีมากเกินไป
การกินขนมหวาน
หรือกินอาหารที่ทำจากแป้งมากเกินไปทำให้ร่างกายสร้างไตรกลีเซอไรด์แล้วขับเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไป
จึงควรลดปริมาณอาหารที่ให้แคลอรี่สูง เช่น ของหวานหรืออาหารที่มีน้ำตาลมาก
รวมถึงอาหารจำพวกแป้งด้วย หรืออาจจะเลือกกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
หรือประเภทที่มีกากใยอาหาร เช่น ข้าวซ้อมมือ
เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสีแทนอาหารจำพวกแป้งขัดสีที่กินอยู่เป็นประจำก็ได้เช่นกัน
2.ครบ
3
มื้อ ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งโดยเฉพาะมื้อเช้า
ควรกินมื้อเช้าให้อิ่ม
เพราะพลังงานที่ได้จากมื้อเช้าจะถูกนำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดวัน
การกินอาหารมื้อเช้าให้พลังงานประมาณ 1 ใน 4 ของพลังงานที่ร่างกายต้องการใน 1
วัน
ซึ่งเท่ากับปริมาณพลังงานที่ควรได้รับในมื้อเย็น
ที่เหลือประมาณครึ่งหนึ่งควรได้จากมื้อกลางวัน และอาหารว่างมื้อเล็กๆ
การรับประทานอาหารแบบนี้จะทำให้ไม่มีพลังงานเหลือนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ได้
3.ถูกสัดส่วน อาหารแต่ละมื้อควรมีสัดส่วนของโปรตีน
คาร์โบไฮเดรต และไขมันในปริมาณพอเหมาะ ไม่ควรกินอาหารจำพวกนี้มากเกินไป
ควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์ติดมัน นอกจากนี้ควรกินปลา ผักผลไม้
และอาหารที่มีกากใยให้ได้ครบในแต่ละวัน
4.ควบคุมไขมัน การลดอาหารไขมันช่วยทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลงได้
ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารทอดหรือผัดที่ใช้น้ำมันมากในการประกอบอาหาร
รวมทั้งไขมันจากอาหารต่างๆ เช่น เนย มาการีน น้ำมันพืช กะทิ หรือไขมันสัตว์
ยกเว้นไขมันจากปลาทะเลที่มีกรดไขมันโอเมกา 3 (omega-3) จากการศึกษาวิจัยพบว่า
กรดไขมันโอเมกา ช่วยลดการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ในตับได้
ดังนั้นใครที่มีปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูง หากได้กินปลาทะเล ไม่ควรทอดนะคะ
ควรปรุงด้วยวิธีการนึ่ง 2-3 มื้อต่อสัปดาห์
จะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ค่อนข้างดี
5.งดบุหรี่และแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่
และดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นตับให้ผลิตไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น
และยังทำให้การเคลื่อนย้ายไขมันออกจากเลือดได้ช้ากว่าปกติด้วย
ดังนั้นควรงดสูบบุหรี่ งดการดื่มเบียร์ เหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ
6.ควบคุมน้ำหนักตัว ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
ยังพบได้บ่อยในคนอ้วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งอ้วนแบบลงพุงกะทิ
ฉะนั้นถ้ามีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานควรพยายามลดน้ำหนักตัวลงบ้าง
ไม่ได้หมายความว่าต้องผอมบางอย่างดารานางแบบนะคะ
เพียงแต่พยายามลดน้ำหนักตัวลงให้ได้ร้อยละ 5-10 จากน้ำหนักเดิม และการลดน้ำหนักที่ดีที่สุดคือ
การควบคุมปริมาณอาหาร ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอค่ะ
7.ระวังยา การกินยาบางชนิดอาจทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้
เช่น ยาขับปัสสาวะ ไธอาไซด์ ฮอร์โมนเพศหญิง ยาคุมกำเนิดบางชนิด
หากต้องกินยาเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ และมีการตรวจระดับไตรกลีเซอไรด์อย่างสม่ำเสมอ
8.ออกกำลังกาย ควรทำตัวกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ
การได้ออกกำลังกายระดับปานกลางวันละอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง 3-4 วันต่อสัปดาห์
จะช่วยเผาผลาญแคลอรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หรือหากไม่มีโอกาสไปออกกำลังกายอย่างจริงจัง การเดินหรือทำงานบ้านให้ได้เหงื่อสักเล็กน้อยทุกวันนั้นก็ดีต่อสุขภาพ
และช่วยป้องกันได้อีกหลายโรคเลยล่ะค่ะ หลายๆ
คนอาจจะกลัวว่าไขมันจะทำให้เสียหุ่นสวย
แต่เอาเข้าจริงแล้วไขมันร้ายอย่างไตรกลีเซอไรด์มีพิษสงร้ายกาจที่น่ากลัวมากกว่าที่คิด
เพราะฉะนั้นต้องใส่ใจดูแลสุขภาพกันให้ดีจะได้ห่างไกลโรคค่ะ